ActionDramaLatestSci-FiThriller

Blade Runner (1982) บทเรียนพิสูจน์คุณค่าของการเป็นมนุษย์

เรื่องราวของ Rick Deckard เจ้าหน้าที่หน่วยพิเศษในอนาคตที่เรียกว่า “Blade Runner” กับการไล่ล่าปลดระวาง มนุษย์เทียม พร้อมกับคำถามที่คลุมเครือในเรื่องของศีลธรรมBlade Runner ดำเนินอยู่ในโลกของอนาคต ที่ได้รับตำแหน่งของ Neo-Noir และเป็นต้นตำหรับของความเป็น Cyber Punk ที่ขนาดที่ว่า Ghost in the shell ยังต้องนำไอเดียของอนาคตที่หม่นหมองโลกของเมืองที่มีไฟนีออน เทคโนโลยีก้าวหน้าแต่ชีวิตของผู้คนตกต่ำย่ำดิน ในท้องถนนที่ชื้นแฉะ ไปดำเนินเรื่อง เป็นต้นแบบของ ภาพยนตร์ Sci-Fi มากมาย (The Matrix, Upgrade, Mute และอื่นๆ ได้ใช้เป็นแนวทาง) โดยที่จริงแล้ว Blade Runner นั้นเป็นการแปลงบทนิยายของ Do Androids Dream of Electric Sheep? ของ Philip K. Dick มาเป็นภาพยนตร์ที่ขึ้นชื่อระดับตำนาน Sci-Fi และต้นแบบตำราของ Cyber Punk ได้อย่าง Blade Runner

ว่าด้วยการมีอยู่ และความสุข

ว่าด้วยเรื่องของ ความสุข ตามคำสอนแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ โลกียสุข คือ ความสุขแบบชาวโลก และ โลกุตตระสุข คือ ความสุขเหนือชาวโลก ซึ่ง ความสุขแบบชาวโลก ที่ว่าคือความสุขที่เกิดจากความอยาก ความปรารถนา ที่จะให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ สุขเกิดจากความมีทรัพย์, สุขเกิดจากการได้ใช้จ่าย, สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ติดค้างใดๆ และ สุขเกิดจากความไม่มีโทษภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติดี สุจริต ไม่บกพร่องเสียหายต่อหน้าที่ ส่วน ความสุขที่อยู่เหนือวิถีชาวโลก หมายถึง ความสุขอันเป็นเรื่องภายในจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยสติปัญญา ซึ่งอาจจะหมายถึง ทัศนคติ ความเข้าใจ ความรู้ ที่เกิดจากปัญญาต่อสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักทุกข์, เหตุแห่งทุกข์, รู้จักเรื่องการดับทุกข์ให้สิ้นไป และ รู้จักทางที่ปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ ซึ่งนั่นคือความสุข

ส่วนเรื่องของ การมีอยู่ คือการรู้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร รู้สึกวงจรกลไกของชีวิต รู้ถึงการเกิดคือจุดเริ่มต้นและการดับคือปลายทางอันสิ้นสุด และเข้าใจว่าจะทำอย่างไรจึงจะใช้เวลาระหว่างการเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทางนั้นได้อย่างมีความสุข และมีความหมาย การมีอยู่ จำเป็นต้องมีความหมาย เพื่อเป็นสิ่งตอกย้ำว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เพื่อทำอะไร และเพื่อใคร

การมีอยู่ และ ความสุขของมนุษย์แท้ และมนุษย์เทียม

ภายใต้ภาพอุดมคติของโลกอนาคตในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แสงสีอันตื่นตาของเมืองแห่งอนาคตที่เต็มไปด้วยแสงไฟนีออน มีองค์กรหนึ่งที่ชื่อว่า Tyrell Corp. เป็นผู้ก่อสร้างโครงการ มนุษย์เทียม หรือที่เรียกว่า Replicants ด้วยแนวคิดแรกเริ่มคือการทดแทนสิ่งที่ขาดหายไปอย่างสัตว์ ผ่านการปลูกถ่ายโครงสร้างอวัยวะที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งาน แต่เลยเถิดจากความคิดแรกมาเป็น การทดแทนในสิ่งที่ก็อยู่มีแล้วคือ มนุษย์ โดยเหล่า Replicants หรือมนุษย์เทียมที่สร้างขึ้นนั้นเป้าหมายคือ บริกร บันเทิง เสี่ยงภัย หรืออื่นๆ ที่ทดแทนสิ่งที่มนุษย์แท้จะต้องไม่ทำหรือเสี่ยง หากคิดดูแล้วไม่ต่างจากแรงงานทาสที่สุดท้าย แม้อนาคตจะก้าวหน้าเรื่องเทคโนโลยีอย่างไร จิตใจและศีลธรรมของมนุษย์ก็ไม่ได้เจริญตามภาพฝันของมหานครนีออนแห่งนี้ (ถูกทดแทนโดยชุดแต่งกายสีดำ) ภายใต้ความสดใสของแสงสี และเสียง

และด้วยความบังเอิญที่ Tyrell Corp ได้ออกแบบ Replicants ใหม่ขึ้นมาโดยการดัดแปลงพันธุกรรมให้มีความสามารถแตกต่างและหลากหลาย ซึ่งความสามารถเหล่านี้อาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์จริงๆ Tyrell จึงจำเป็นต้องกำหนดอายุขัยของ Replicants เหล่านี้เพียง 4 ปี แต่กลายเป็นว่าโอกาสของการมีชีวิตที่มีความหมายแค่ 4 ปีนั้นคงสั้นไป เหล่า Replicants 6 คนที่มีความสามารถแต่ต่างได้ขัดขืนมนุษย์ผู้เป็นนาย โดยมีผู้นำของเหล่า Replicants คือ Roy Batty (Rutger Hauer) หลบหนีจากการควบคุมทางการ LAPD เล็งเห็นว่ามีปัญหาจึงส่งทีมที่เรียกว่า Blade Runner ไปทำการปลดระวาง (สังหาร) เหล่า Replicants ซึ่งในทีมมี Rick Deckard (Harrison Ford) อดีตเจ้าหน้าที่หน่วย Blade Runner เข้ามาตามไล่ล่า Replicants ใน L.A.

อะไรคือความหมายของคำว่าชีวิต

หากสังเกตข้อแตกต่างของ Replicants และ หน่วย Blade Runner อย่าง Deckard เราจะเห็นมุมมองที่แตกต่างกันอยู่ชัดเจน เหล่า Replicants อย่าง Roy เลือกที่จะใช้ชีวิตให้มีความหมาย มีความสูญเสีย เห็นอกเห็นใจ ต้องการมีความสุขและใช้เวลาแสนสั้นให้มีควาหมาย เลือกที่จะปลดแอกความเป็นทาสให้กับเหล่า Replicants ในระยะเวลาของชีวิตที่แสนสั้น 4 ปี สำหรับ Deckard กลับเป็นตัวแทนของมนุษย์จริงๆ ที่ไม่ใช่ Replicants เรากลับแทบไม่รู้เรื่องราวชีวิตของเขาแม้แต่น้อย แต่ที่สังเกตได้คือการหลอกตัวเองโดยการซื้อสัตว์เลี้ยงเทียมมาเล่น ทานอาหารกล่องเดิมๆ ทุกวัน ใช้เวลาชีวิตวนเวียนไปมาในลูปเดิมๆ บนถนนชื้นแฉะแห่งนี้วันต่อวัน

Filename – BLADERUNNER_USA_00008.JPG — Bladerunner — USA Network — Theatricals — — — — –FOR EDITORIAL USE ONLY–NOT FOR RESALE/DO NOT ARCHIVE

Deckard เลือกจะมี โลกียสุข สุขทางโลก แต่ Roy และเพื่อนๆ Replicants เลือกจะมี โลกุตตระสุข โดยการวิ่งไปแก้ไขที่เหตุของทุกข์คือการเข้าไปพบกับ Tyrell มันเป็นการย้อนแย้งให้เราเห็นว่า การเห็นคุณค่าของชีวิตนั้นมันสำคัญ ซึ่ง Blade Runner ได้ตอบเราได้ชัดเมื่อเราได้เห็นการตรวจสอบผ่านเครื่องจับเท็จสำหรับ Replicants ที่เรียก Voight-Kampff การปฏิบัติเชิงดูถูกของ Deckard กับ Replicants อื่นๆ จนกระทั่งการไล่ล่าของ Deckard ต้องมาถึงจุดเปลี่ยนผัน เมื่อเขาต้องหลงรักกับ Replicants ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นมนุษย์จริงมาตลอดอย่าง Rachael (Sean Young) ผ่านการตรวจสอบของ Deckard เองด้วยซ้ำ หากสังเกตตอนต้น Deckard ออกจะปฏิบัติหยาบคายไม่เห็นค่ากับพวก มนุษย์เทียม แต่เราจะเห็นว่า Deckard เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงหลังจากพบกับ Rachael  ความเห็นอกเห็นใจมนุษย์เทียม หรือ Replicants ก็เริ่มมีมากขึ้น ยิ่งพอเขารู้ว่า Rachael คือ Replicants ตัวเขาเองกลับเข้าใจเหล่า Replicant มากขึ้น (เหมือนประเด็นของการเหยียดผิว)

ซ้ำกับคำถามและการกระทำของ Roy ที่ทำให้เขาต้องถามตัวเองว่า สุดท้ายแล้วหน้าที่ที่ทำอยู่ในการ ปลดระวาง เหล่า Android หรือ Replicants เหล่านี้นั้นมัน ถูกต้อง แล้วหรือไม่?

Blade Runner จึงไม่ใช่หนัง Action-Sci Fi ที่โลดโผนหวือหวา บางทีออกจะง่วงด้วยซ้ำหากใครไม่ถูกจริตกับเนื้อหาที่ต้องถกเถียงว่าด้วยนัย และประเด็นเชิงพิพาทสังคมที่ปรากฏในหนังอาจจะเบื่อพาลเกลียดเอาได้ง่ายๆ แต่ Blade Runner เป็นหนังที่ชัดเจนในเรื่องของปรัชญาที่ว่าด้วยการ Judgment (การตัดสิน)

เราใช้อะไรมาตัดสินว่าสิ่งนั้นควรค่าแก่การเป็นมนุษย์

ฉากสุดท้าย Tears in rain ฉากจบในตำนานที่สุดท้าย Roy ที่ดูจะเป็น Replicants ตัวร้ายมาตลอดต้องช่วย Reckard แล้วเอ่ยวาจาก่อนจะหมดอายุขัยของตัวเองให้เราได้เห็นใจ ถึงการเป็นมนุษย์ และ เป็นเหยื่อของสังคมที่ตัดสินเขา พร้อมๆ กัน Roy ไว้ชีวิต Deckard ผู้สังหารพี่น้องของตน ฉากในตำนานนี้เหมือนจะเป็นการบอกว่า Replicant เช่น Roy  กลับเห็นค่าของชีวิตอื่นๆ มากกว่ามนุษย์จริงๆ อย่าง Deckard ด้วยซ้ำไป มนุษย์เทียมกลับมีหัวจิตหัวใจเพียงพอที่จะเป็นมนุษย์ ในทางตรงข้ามมนุษย์ที่สร้างพวกเขาขึ้นมาเพื่อเป็นทาสกลับลดค่าของตัวเองเรื่อยๆ

คำสอนน้ำตาในสายฝนของ Roy ก่อนจะหมดอายุขัย เป็นสิ่งที่เตือนใจให้ Deckard ต้องทบทวนในสิ่งที่ตนเป็น ทำให้เขาเลือกที่จะ ละทิ้งหน้าที่หน่วย Blade Runner และพา Rachael หนีอย่างปลอดภัย และไปให้ไกลจากเมืองแห่งนี้

Ridley Scott เลือกที่จะทิ้งปมของ Deckard ให้คนดูอย่างเราได้สงสัยว่าแท้จริงเขาเป็น Replicants เหมือนกันด้วยหรือไม่ให้เป็นข้อถกเถียงของคนดู จนกระทั่ง 30 ปีให้หลังที่จะมาเฉลยปมนี้ให้กับเราใน Blade Runner 2049

ยังไงก็ตาม ตำนาน Cyber Punk อย่าง Blade Runner ก็ยังคงเป็นหนังที่ควรดูก่อนตายเรื่องต้นๆ ในลิสของคุณ ไม่ใช่เพราะความเป็น Sci-Fi หวือหวา หรือเป็นตำราของ Neon City Cyber Punk ตัวพ่อ แต่จริงๆ มันคือ หนังที่จะสอนให้เราเข้าใจถึงการมีอยู่ของชีวิตว่า  ชีวิตมันสั้นนัก เราทำอะไรที่มีความหมายแล้วหรือยัง?

Tags

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์

อาจารย์มหาวิทยาลัยสายไอที แต่ชอบเสพศิลป ชอบดูหนัง เรียกว่าเนิร์ดหนังก็ได้ ชอบ ท่องเที่ยว ชมงานศิลปะ และอ่านหนังสือ เขียน Blog เว็บนี้เขียนมาตั้งแต่อายุ 22 เมื่อก่อนเดินทางบ่อยมากตอนนี้นั่งดูหนังแล้วมารีวิวแบบ critics movie แทน

Related Articles

Back to top button
Close

เราตรวจพบ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ

รายได้หนึ่งของเว็บไซต์คือ โฆษณา ของ Google ยังไงขอความกรุณาผู้อ่านทุกท่าน ปิด AdBlock บนบราวเซอร์ของท่าน เพื่อช่วยเหลือผู้เขียนด้วนะครับ :) ขอบคุณครับ