DramaThailandThriller

Gone, Baby, Gone (2007) อุดมคติ กับโลกแห่งความจริง

เด็กหญิงที่หายไปอย่างเป็นปริศนา กับเหตุการณ์สืบสวนที่นักสืบหนุ่มต้องเลือกระหว่างความเป็นจริงในสังคมกับความถูกต้องตามอุดามคติ

ความถูกต้องตามอุดมคติเป็นเหมือนโซ่ตรวนที่คอยตรึงมนุษย์ในสังคมให้ประพฤติปฏิบัติเหมือน ๆ มนุษย์ผู้อื่นเพื่อคำว่า “ความถูกต้อง”

คำเตือน เปิดเผยเนื้อหาตลอดเรื่อง

Gone, Baby, Gone หรือ สืบลับเค้นปมอันตราย ผลงานกำกับโดย Ben Affleck แปลงจาก Novel ของ Dennis Lehane (คนแต่ง Mystic River) พลอตของเรื่องว่าด้วยเด็กหญิงที่หายไปอย่างเป็นปริศนา กับเหตุการณ์สืบสวนที่นักสืบหนุ่มต้องเลือกระหว่างความเป็นจริงในสังคมกับความถูกต้องตามอุดมคติ เมื่อเหตุการณ์นี้สะท้อนคำถามของเราทุกคน ไม่เว้นแม้แต่การมองย้อนกลับมาดูตัวเองในประเทศไทยที่เรากำลังเจอทุกวี่ทุกวัน

กับสิ่งที่เรียกว่า อุดมคติ

อุดมคตินั้นคือหลักการที่เราทั้งหลายอาจจะมีอยู่ในใจและยึดมั่นอยู่ ถือเป็นข้อปฏิบัติและแนวทางของความประพฤติของเรา “อุดมคตินั้นเคยคิดว่ามี คือจะเป็นครูที่ดี และจุดหมายคือใช้ชีวิตเป็นครู เมื่อเช่นนี้ ก็น่าที่จะทำให้ถึงอุดมคติ” [1], อุดมคติ กับความถูกต้อง เมื่อสองสิ่งนี้บรรจบเข้ามาในชีวิตของเรา เราจะตระหนักได้รู้อย่างไร ว่าหลักการ แบบแผน ความเชื่อที่เราเทิดทูน มันคือ ความถูกต้อง จริงๆ

อุดมคติมีลักษณะ 1.เป็นหลักการที่เรายึดมั่นประจำใจและนำไปปฏิบัติ  2.เป็นหลักการที่ต้องตั้งมั่นอยู่บนรากฐานแห่งธรรม เพื่อเกื้อกูลมหาชน 3.เป็นหลักการที่จะต้องคอยทะนุถนอมให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยความไม่ประมาท 4.เป็นหลักการที่อยู่ในใจของแต่ละคน และอุดมคติของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันได้ [2]

อุดมคติที่เรียกว่า (Utopia) โลกที่เต็มไปด้วยเหตุผลที่เที่ยงตรงสิ่งที่ถูกต้อง กฏเกณฑ์เสรี แบบแผน ที่เราทุกคนปฏิบัติแล้ว มันคือสิ่งที่ชี้ขาดว่า “มันถูก”  เพื่อได้รับการถูกยอมรับในสังคม เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชน หลักนิติธรรม ฯลฯ อะไรก็ว่าไป หากเราประพฤติผิดแบบแผนของมัน มันก็จะกลายเป็นสิ่งที่  ไม่ถูกต้อง

สิ่งที่ไม่ถูกต้อง ย่อมขัดต่อเจตจำนงค์ และอุดมคติ

Kenzie (Casey Affleck จาก Manchester by the Sea (2016) หัวใจที่แสนบอบช้ำเกินจะเยียวยา) และ Angie Gennaro (Michelle Monaghan) คู่รักที่ร่วมกันเปิดบริษัทนักสืบเอกชนในย่านเสื่อมโทรมในเมืองบอสตัน คล้ายๆ สลัม งานหลักของสองคู่รักคือการตามตัวลูกหนี้ ภรรยาที่หนีสามี สามีแอบมีกิ๊ก เป็นงานหลัก และใช้การเป็นคนในพื้นที่ ที่เติบโตและอาศัยอยู่ในละแวกนั้นมาตลอดช่วงอายุ แหล่งข้อมูล พยาน คนติดต่อ ไปจนถึงช่องทาง ทั้งขาว เทา ดำ เรียกได้ว่าแม่นพื้นที่แบบทะลุปรุโปร่ง  ชนิดที่อยากได้ข้อมูลอินไซด์ขนาดไหนก็ไม่ยากต่อการได้มา

วันหนึ่ง ทั้งคู่ได้รับการว่างจ้างให้ตามหาเด็กหญิงวัย 4 ขวบ “Amanda McCready” ซึ่งหายไปจากบ้านเมื่อ 3 วันก่อน และคดีของเธอก็กำลังเป็นเป้าความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้น ชายหญิงคู่หนึ่งอ้างตนว่าเป็นลุงและป้าของเด็กหญิง  โดยมีข้อมูลจากแม่ของเธอแค่ข้อเดียวคือ หายไปพร้อมตุ๊กตา ชื่อ  Leenabelle

แม้ทีแรก Patrick ไม่ได้สนใจในคดีแต่ Angie คะยั้นคะยอให้เขารับทำเสียเพราะเธอไม่อาจรับได้หากเด็กหญิงนอนเป็นศพอยู่ในถังขยะ  เพราะตอนนี้ก็เกือบ 72 ชั่วโมง ที่หายไป ใบหน้าสดใสเด็กหญิง Amanda พร้อมผมสีบรอนด์ทองแสนน่ารักในภาพถ่ายก็ทำให้ทั้งคู่ก็ใจอ่อนและตกปากรับทำคดีกับลุงและป้าในที่สุด

กระบวนการตามหาเด็กหญิง Amanda ภายใต้การดูแลของ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่อาวุโส อย่างผู้กำกับการ Jack Doyle (Morgan Freeman) แม่ขี้เหล้าที่ยาวไปถึงขี้ยาสก๊อยของ Amanda อย่าง Helene McCready (Amy Ryan)

โดยมีนักสืบมือเก่าอย่าง Remy Bressant (Ed Harris) และ Nick Pole (John Aston) ทั้งคู่พาตัวเองไปพบปะบุคคลอันตรายอย่างพ่อค้ายาชีส  ที่ Helene แม่ของ Amanda  ขโมยเงินจากการขายยาทำให้เกิดคดีมากมาย สถานการณ์ซับซ้อนเสี่ยงตายหลายครั้งจากสถานที่เสื่อมโทรมที่พวกเขาอยู่ คดีของ Amanda กลับเป็นคดีที่เปรียบได้กับ “บทเรียนครั้งใหญ่ในการทดสอบคุณธรรม” ของทั้งสองคน ที่ท้ายสุดแล้วจากจุดยืนที่เห็นพ้องต้องกันมาแสนนาน ร่วมทุกข์ร่วมสุข ต้องสะเทือนเพราะขั้วความคิดและมุมมองของทั้งสองคนนั้นต่างกันสิ้นเชิงในตอนท้าย เมื่อ

ทุกสิ่งที่ปรากฏให้ทั้งคู่เผชิญคือการจัดฉากครั้งใหญ่ และเด็กผู้หญิง Amanda นั้นก็ไม่ได้ตายหรือสูญหาย

จุดยืน และมุมมอง สองขั้วที่ตัดสินในเรื่องของ จริยธรรม  เปรียบเสมือนคำถามครั้งใหญ่ กับทั้งสองคน เมื่อ ชีวิตของ Amanda สาวน้อยแสนน่ารักกับชีวิตใหม่ของคนที่ใช้กระบวนการ “ตัดปัญหา” ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นมีความสุข และดีกว่า ชีวิตที่เธอต้องอยู่กับแม่ของเธออย่าง Helene

ชีวิตของเด็กจะกลับสู่วงจรอุบาทว์โสมม ได้รับความเกลียดชัง เป็นเพียงคนชั้นต่ำ หยาบคาย ถ้าเธอกลับไปอยู่กับ Helene แม่ของเธอชีวิตของเด็กคนเดียวกันจะดีและมีความสุขถ้าอยู่กับคนที่วางแผนให้เธอกลายเป็นคนตาย คนสูญหาย แต่เธอจะได้รับดูแล ได้รับความรักจากคนที่ลักพาตัวเธอมา

แน่นอนว่า ความคิดสองข้อนี้ปรากฏขึ้นมาในหัวของคุณทันที

แท้จริงแล้วคดีการหายตัวไปของ Amanda เป็นฝีมือร่วมกันระหว่างลุงของเด็ก กับ Jack Doyce และ Remy ที่ร่วมกันวางแผนลักพาตัวเด็กหญิงซ้อนคดีให้ Pattrick สับสนกับคดีฆ่าเด็กของผู้ต้องหาอีกราย สาเหตุของพวกเขาคือไม่สามารถทนเห็นเด็กหญิงแสนน่ารักต้องเติบโตมาจากการแม่ขี้ยาสก๊อย ทิ้งขว้างเลี้ยงดูตามมีตามเกิดขาดความใส่ใจ พวกเขาไม่สามารถที่จะทนเห็นสิ่งเหล่านั้น (แม้ว่ามันอาจจะเกิดหรือไม่เกิดจริง?)

เช่นกัน Angie ก็เห็นว่า Helene ยังไม่พร้อมจะเป็นแม่ ถ้าขืนปล่อยให้เด็กน้อยอย่าง Amanda อยู่ในการปกครองของเธอ ไม่นานเด็กก็คงเติบโตขึ้นกลายเป็นขี้ยา ขายตัวไร้อนาคตแบบเดียวกับแม่ของเธอ

Pattrick  และคนดูอย่างเราตกอยู่ในสถานการณ์ต้องต้องเลือกว่า

  • แจ้งตำรวจ เพื่อนำเด็กกลับคืนผู้เป็นแม่
  • เพิกเฉย ปล่อยให้เด็กอยู่ในการอุปการะของนายตำรวจใหญ่ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและความรักผู้นั้นต่อไป Pattrick แค่ต้องปล่อยพวกเขาไป ลืมว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นกลับบ้านไปเสีย

แต่…

เขาเลือกที่จะไม่ทำ เพราะมัน “ผิดกฏหมาย” Pattrick เชื่อว่า การแก้ปัญหาแบบนี้มันเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แก้ที่ปลายเหตุ ตัดปัญหาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ทำไมไม่เข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย หาก Helene แย่ก็ควรเป็นหน้าที่ของสังคมสงเคราะห์ ทุกสิ่งจะดีถ้าแก้จากระบบ แก้ที่ต้นเหตุ

แน่นอนหลายคนอาจจะบอกว่าเขาทำถูก และบางคนก็ไม่ชอบในสิ่งที่เขาทำ นี่แหละคือคำถามทดสอบจริยธรรมของคนดูอย่างเราหากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับ Pattrick  เราจะตัดสินใจเช่นไร?

แล้วความถูกต้องคืออะไรกันแน่?

Amanda กลับไปหาแม่ Helene , แม่ของเธอกลายเป็นคนดังในเวลาต่อมา ออกเดทไปเรื่อย  Pattrick และ Angie เลิกลาต่อกัน วันหนึ่ง Helene มาขอวานให้เพื่อนบ้านอย่าง Pattrick ช่วยดูสาวน้อย Amanda เพื่อที่เธอจะไปเดทข้างนอก

  •  Pattrick นักสืบหนุ่มเอ่ยถาม Amanda ว่า “ตุ๊กตานี่คือ LeneBelle ใช่ไหม?”
  • เด็กน้อยตอบด้วยความหงุดหงิด และทำท่าทางถอดแบบแม่ของเธอหน้าทีวีว่า “เธอชื่อ Annabelle”

Pattrick ได้แต่อึ้ง เงียบ ที่สุดท้ายเด็กน้อยคนนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแม่แท้ๆ ที่ไม่รู้ว่าตุ๊กตาของลูกชื่ออะไร

Gone, Baby, Gone สะท้อนสังคมในปัจจุบันว่าแท้จริงแล้วโลกอุดมคติอาจจะไม่มีจริง เลยด้วยซ้ำไปการกระทำที่คิดว่าถูกต้องอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป

โลกหรือสังคมในทุกวันนี้มีเงื่อนไขหลายมากมายซับซ้อนเกินกว่าเราจะรู้ เงื่อนไขที่มากมายซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะสามารถกำหนดได้ว่า มันมีแค่ “ถูก” หรือ “ผิด” มีแค่สี “ขาว” กับ “ดำ”

โลกใบนี้มันคือสีเทา  อุดมคติบนโลกใบนี้ยากที่มีจะมีและวัดได้เที่ยงตรง

แต่ถ้าวิเคราะห์ตามข้อที่ 4  – อุดมคติ เป็นหลักการที่อยู่ในใจของแต่ละคน และอุดมคติของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันได้ ถ้ามองจุดนี้ ก็อาจจะไม่มีใครผิดและถูกปรากฏในเรื่องนี้ ทุกคนเป็นสีเทา แม้แต่ Angie เอง

คนแบบ Pattrick เองก็มีเยอะในสังคมนะครับ คนที่เชื่อและยึดมั่นในสิ่งที่ตนคิดว่ามันถูกต้อง มันต้องแก้ที่ระบบ แต่ เขาลืมว่าทุกสิ่งมันมีอะไรอีกมายมายพัวพัน คนแบบเขา คือคนที่มองอะไรด้านเดียว ทื่อ ๆ ไม่ฉลาด และมันน่าเศร้าตรงที่คนแบบ Pattrick ที่มองอะไรมิติเดียวคนนี้ ไม่เคยคิดว่าตัวเอง “เขลา”


[1] โกมล คีม, “สูจิบัตรเพลิงชมพู” ,2511 เรื่อง ความว่างเปล่า หนังสืองานศพ หน้า 314
[2] ป๋วย อึ๊งภากรณ์,”อุดมคติ”

Tags

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์

อาจารย์มหาวิทยาลัยสายไอที แต่ชอบเสพศิลป ชอบดูหนัง เรียกว่าเนิร์ดหนังก็ได้ ชอบ ท่องเที่ยว ชมงานศิลปะ และอ่านหนังสือ เขียน Blog เว็บนี้เขียนมาตั้งแต่อายุ 22 เมื่อก่อนเดินทางบ่อยมากตอนนี้นั่งดูหนังแล้วมารีวิวแบบ critics movie แทน

Related Articles

Back to top button
Close

เราตรวจพบ Adblock บนบราวเซอร์ของคุณ

รายได้หนึ่งของเว็บไซต์คือ โฆษณา ของ Google ยังไงขอความกรุณาผู้อ่านทุกท่าน ปิด AdBlock บนบราวเซอร์ของท่าน เพื่อช่วยเหลือผู้เขียนด้วนะครับ :) ขอบคุณครับ