
Surrealism มีอิทธิพลกับงานภาพยนตร์สูงโดยเฉพาะผู้สร้างหนังชาวเชคอย่าง Jan Švankmajer ที่นำเสนอแอนิเมชันได้ดาร์คจิตหลุด
แน่นอนว่าอิทธิพลของลัทธิแนวคิด Illusionism นั้นมีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ในปัจจุบันหลายๆ เรื่อง (แบบ Surreal) เน้นการนำเสนอบอกแก่ผู้ชมว่าทุกสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์คือสิ่งที่ไม่มีความเป็นจริง และแนวคิดนี้ก็อยู่ตรงข้ามกับภาพยนตร์แนวสัจจนิยม (Realism)
ครั้งหนึ่งผมได้นำเสนอแนวภาพยนตร์ของเจ้าพ่อในวงการยุคเก่าแก่อย่าง A Trip to the Moon (1902) ภาพยนตร์ Sci-Fi เรื่องแรกของโลก ของนักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส Georges Méliès
ซึ่งในบทความตอนนี้จะพูดถึงอีกท่านนึงที่ตอกย้ำแนวคิด Surrealism ภายใต้ความเชื่อลัทธิ Illusion โดยสามารถประกาศได้ว่าสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์นั้นคือเรื่องราวจินตนาการ สร้างภาพมายาที่ไม่มีจริงขึ้นมาจากความเพ้อฝันโดยอาศัยเทคนิคการถ่ายทำให้ปรากฏเหตุการณ์ต่างๆ ทุกวิธีการและตัดต่อลำดับภาพให้เป็นภาพยนตร์ “แฟนตาซี” พร้อมคำถามให้ผู้ชมตีความ ชายคนนี้คือ Jan Švankmajer
Jan Švankmajer ผู้สร้างภาพยนตร์และศิลปินชาวเชคโกลโลวัคที่เกษียณอายุแล้วซึ่งมีงานครอบคลุมสื่อหลายประเภท เขาเป็น Surrealist ที่มีผลงานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักจากแอนิเมชัน, สต๊อปโมชัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปิน ผู้สร้างภาพยนตร์คนอื่น ๆ ในปัจจุบัน แต่เดิมวงการภาพยนตร์ของเชคสโลวัคถูกวางรากฐานได้อย่างดีตั้งแต่ปี 1945 ตั้งแต่ผลงานของ Hermína Tyrlová, Karel Zeman และ Jiří Trnka โดยการนำเสนอภาพยนตร์การ์ตูน และการแสดงแอนิเมชัน (สต๊อปโมชัน) ที่เป็นการเคลื่อนไหวจากหุ่นมือ หรือหุ่นเชิด
ความโดดเด่นที่สุดของอุตสาหกรรมนี้ คืองานยุคหลังของ Jan Švankmajer ที่โดดเด่นในการสร้างอารมณ์ขันร้ายๆ ประกอบกับการนำเสนอแบบ Dark Fantasy การใช้เสียงประกอบที่แปลกและหลอนหู มาพร้อมกับเอฟเฟกต์แปลก ๆ ที่เมื่อรวมแล้วคือความดาร์คและฝังความขนลุกกระตุ้นโสตประสาท ซึ่งนั่นคือเครื่องหมายการค้าประจำตัวของ Švankmajer
นั่นเพราะว่า ในช่วงปี 1950 Švankmajer มีความหลงไหลในการชมความบันเทิงจากโรงละคร หุ่นเชิดและหุ่นกระบอก เขาตัดสินใจเข้าเรียนที่ School of Applied Arts ในปรากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง 1954 ก่อนจะเข้าเรียนในภาควิชาศิลปะการเชิดหุ่นที่ Academy of the Performing Arts ขณะนั้นเองตัวเขาก็ทำงานในโรงละครหุ่นกระบอกและโรงละครอื่นๆ ระหว่างที่เรียน, Švankmajer ได้หลงไหลสื่อใหม่อย่างภาพยนตร์ ในเวลาต่อมา ส่งผลให้เขาเริ่มอาชีพการแสดงบนแผ่นฟิลม์ภาพยนตร์สั้นครั้งแรกของเขา – Poslední trik pana Schwarcewalldea a pana Edgara (1964, The Last Trick ) เรื่องราวนักมายากลสองคนในชุดหุ่นเชิดมีพยายามงัดฝีมือมาหักหารกันอย่างดุเดือดซึ่งเป็นจุดกำเนิดที่เขาเริ่มสนใจอีกเทคนิคหนึ่งนั่นคือ “Stop Motion”
รับชมได้ที่: The Last Trick – Jan Švankmajer – 1964 – YouTube
ภาพยนตร์ของ Švankmajer มักจะนำวัตถุที่ไม่มีชีวิตมาแสดงในรูปแบบของการมี “ชีวิต” ผ่านภาพ Stop Motion งานที่สร้างสรรค์ที่สุดและสร้างชื่อนั้นเขาใช้ดินเหนียวเป็นการนำเสนอในการสร้างการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Claymationในภาพยนตร์รางวัล “Dimension of Dialogue”
รับชมได้ที่: (1) Dimensions of Dialogue (Jan Svankmajer) – YouTube
Švankmajer ยังคงถ่ายทอดสไตล์ของตัวเองในการทำ Experiment Film หรือหนังเชิงทดลองผ่านเทคนิคการเชิดหุ่นแอนิเมชั่น และ Stop Motion ในภาพนตร์ โดยเรื่องที่โดดเด่นประกอบไปด้วย
Food (1992) ภาพยนตร์สั้นที่ถ่ายทำแบบ Stop motion กับเรื่องราวของมื้ออาหาร สะท้อน การเมือง ระบบวัตถุนิยม-บริโภคนิยม นำเสนอตัวเองเหมือนผู้ผลิตอาหารให้กันและกันบนโต๊ะ สุดท้ายก็แข่งกันบริโภคจนไม่มีของก็บริโภคกันเองที่เพี้ยน และหลอน
รับชมได้ที่: Food (Jidlo) 1992 – Jan Svankmajer – YouTube
Meat Love (1989) เมื่อ Švankmajer มีความเชื่อว่ามนุษย์ก็คือก้อนเนื้อรูปแบบหนึ่งกายหยาบ หากกายหยาบมีความรักความรักของก้อนเนื้อนั้นจะเป็นยังไง กับการนำเสนอ Stop Motion สุดเพี้ยนของก้อนเนื้อ
รับชมได้ที่: Meat Love – YouTube
ผลงานภาพยนตร์ Dark Fantasy หลอนๆ อย่าง Alice (1988) นี่เป็นภาพยนตร์ที่ดูจะแมสที่สุดของเขาและนำเสนอได้น่ากลัว หลอนๆ กับเสียงและภาพ ประกอบการแสดงของคนเล่นที่น่าสนใจและดูมีเอกลักษณ์ดี
สามารถรับชมได้ที่: Alice(Něco z Alenky)(1988) by Jan Švankmajer HD Full Movie with English Subtitle – YouTube
ผลงานอื่นๆ เก่าๆ
Punch and Judy (1966) รับชมได้ที่: Punch and Judy – Jan Svankmajer (1966) – YouTube
“Darkness, Light, Darkness” «Oscuridad, Luz, Oscuridad» – YouTube
Svankmajer Jan – Flora [1989] – YouTube
La muerte del estalinismo en Bohemia (Cortometraje) – YouTube
การนำเสนอภาพที่ชวนหลอน ลึกลับ และดาร์คสุดๆ และในหลายๆเรื่องก็ซ่อนนัยยะทางการเมืองไว้ หลายๆผลงานของ Švankmajer เกิดเป็นกระแสบอกต่อ และรัฐบาลมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง โดยช่วงที่โซเวียตปกครองเชคในช่วงปี ค.ศ. 1968 ภาพยนตร์ของ Švankmajer กลายเป็นภาพยนตร์ต้องห้ามไม่สามารถฉายในประเทศได้ Švankmajer ใช้เวลาเกือบ 20 ปี สร้างสรรค์ผลงาน เงียบๆ ในมุมมืดจนกระทั่งปี 1982 Dimension of Dialogue คว้ารางวัล ชื่อเสียงของเขาจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และภายหลังชาวเชคจึงได้รับชมภาพยนตร์ของเขาในเวลาต่อมา
ผลงานยุคใหม่ของเขาที่ผ่านตาและน่าสนใจในปี 2000 คือ Little Otik (Czech: Otesánek) หรือ Greedy Guts ว่าด้วยเรื่องของ Karel Horák และ Božena Horáková สามีภรรยาที่ไม่มีบุตรและพยายามจะมีด้วยทุกวิธีการยังไงทั้งคู่ก็ไม่สามารถมีบุตรได้ และทั้งคู่ตัดสินใจซื้อบ้านที่ประเทศ Karel ที่มาจากคำแนะนำของเพื่อนบ้าน ขณะซ่อมแซมบ้านที่ซื้อมาได้ขุดพบท่อนไม้ที่ดูลักษณะเหมือนทารก และเขาก็ได้นำมาทำความสะอาดและนำมาให้ภรรยาของเขา เธอได้ตั้งชื่อว่า Otík และเธอก็เริ่มเลี้ยงดูเหมือนลูกของเธอแท้ ๆ มาเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน เมื่อเจ้า Otík กลับมีชีวิตจริงๆและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดความสยอง
ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เราควรเก็บแรงบันดาลใจไว้ครับ
หมายเหตุ: หากใครนำบทความสรุปนี้ไปอ้างอิงใน YouTube เล่าเรื่องใดๆ รบกวนแนบ link ให้ทีนะครับ