รีวิวหนังสือ Seven Brief Lessons on Physics ความงามแห่งฟิสิกส์

หลายคนพอบอกถึงคำว่าฟิสิกส์ก็รู้สึกเบือนหน้าหนี แต่สำหรับ Seven Brief Lessons on Physics เล่มนี้กลับบอกเล่าให้คนที่ไม่เข้าใจหรือเกลียด ได้รู้จักความสวยงามได้สบาย
เห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกใน ชั้นหนังสือสักแห่งตอนที่ต้องปฎิบัติภารกิจแถวสยามทุกวันพุธ ก็ไม่ได้ใส่ใจกับ Text Book เล่มบางๆ เล่มนี้เท่าไร จนกระทั่งมาพบอีกทีบนชั้นหนังสือของร้าน Se-Ed เซ็นทรัลบางนา วางคู่เป็นเล่มสุดท้าย คู่กับ “17 สมการเปลี่ยนโลก (Equations that changed the world).” เป็นเล่มบางๆ จาก สำนักพิมพ์ Openworlds ก็เลยคิดว่าคนคาบเกี่ยวยุคดิจิทัล กับความเป็นแอนาล๊อคอย่างเราก็ควรจะหยิบหนังสือทั้งสองเล่มนี้มาเก็บไว้เสีย, เพียงแค่เริ่มอ่าน Seven Brief Lessons on Physics ก่อนเพราะ ช่วงนี้มีทั้งงานวิจัย และ หลายๆ สิ่งประเดประดังเข้ามาให้จัดการมากมายจนโฟกัสอะไรไม่ได้ เวลาอันจำกัดจึงจัดเจ้าหนังสือเล่มบางนี้เบาๆ
เมื่ออ่านจบ ถึงกับต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า Seven Brief Lessons on Physics นั้นมาจาก บทความ สั้นในหนังสือพิมพ์ Il Sole 24 Ore พร้อมยกนิ้วให้กับ Carlo Rovelli นักฟิสิกส์หัวใหม่ที่สามารถย่อย และนำเสนอความน่าเบื่อที่เกินเข้าใจของ Einstein’s general relativity, quantum physics, the structure of universe, newton’s gravity, particles หรือเรื่องที่ผมชอบมากๆ อย่าง “black hole thermo dynamics”ในภาษาที่เข้าใจง่าย อธิบายได้แบบ Simple ชนิดที่ Simpify กันจนเด็กประถมอ่านเข้าใจ (ถ้าคิดจะอ่านนะ)
เรื่องน่าสนใจอย่าง การยืดออกของเวลา ในทฤษฏีสัมพัทธภาพ: Relativity Theory เกี่ยวกับเวลาที่ล่วงไประหว่างเหตุการณ์สองอย่างนั้นไม่แปรเปลี่ยนจากผู้สังเกตหนึ่งไปยังผู้สังเกตหนึ่ง แต่มันขึ้นอยู่กับความเร็วสัมพัทธ์ของกรอบอ้างอิงของผู้สังเกต(ตัวอย่างเช่น ปัญหา twin paradox ฝาแฝดที่คนหนึ่งอยู่บนเขาสูง อีกคนอยู่ข้างล่าง คนที่อยู่ข้างล่างกลับแก่กว่า, ซึ่งทฤษฏีจริงคือ ฝาแฝดซึ่งคนหนึ่งอยู่บนยานอวกาศด้วยความเร็วแสง แล้วกลับมาพบว่าแฝดของเขาที่อยู่บนโลกมีอายุมากกว่า, หนังเรื่อง Interstella ไง) ปริศนาอันน่าฉงนของเวลา ที่เป็นเสน่ห์เหลือเกิน
น่าขำคือ บทแรกของหนังสือเล่มนี้ทดลองจิตใจ และความเข้มแข็งของผู้อ่านแบบ สแกนกรรม (การกวาดสายตาผ่านๆ แล้วคิดว่าอ่านแล้ว) ด้วยการจัดสมการให้ เป๋ เล่นๆ (ซึ่งจริงๆ ก็มีแค่สมการนั้นสมการเดียว)
R_ab – (1/2)Rg_ab = T_ab
กลายเป็นว่า 7 บทความที่นำมารวมเล่มของ Seven Brief Lessons on Physics นั้นเหมาะกับคนที่ไม่อยากจะเข้าใจฟิสิกส์ หรือกลัวมันให้พอรู้เรื่องจากมันบ้างว่ามันไม่ได้น่ากลัวแบบเข้าใจง่าย ส่วนสายฟิสิกส์ฮาร์ดคอร์ พวกนักวิชาการ หรือสายตรงนั้นก็สามารถอ่านได้เพลินๆ เหมือนทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยยากๆ ให้อยู่ในแบบของการเล่านิทานสนุกๆ ซึ่งอาชีพครูอย่างผมน่าจะเอาเรื่องพวกนี้ไปเบี่ยงเบนประเด็นให้เด็กๆ ในคลาสได้รู้บ้าง ดังนั้นเลยขอเชียร์หนังสือSeven Brief Lessons on Physics และทีมแปลสำนักพิมพ์ Openworlds กันตรงๆ เลยแล้วกัน
ถ้าพบก็ซื้อเถอะ เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่น่าสนใจหลายๆ บทครับ 🙂