The Seventh Seal (1957) บางทีความตายก็เป็นเรื่องใกล้ตัว

ภาพยนตร์ของ Ingmar Bergman กับ The Seventh Seal ที่เป็นงานสร้างที่หลงไหลในความตาย ผ่านการเดิมพันของอัศวิน และมัจจุราช
เป็นผลงานขึ้นหิ้งของ Ingmar Bergman นำแสดงโดย Max von Sydow อัศวินคนนึงที่เดินทางกลับจากศึกครูเสด สงครามศาสนาที่เจ้าตัวก็เริ่มสับสนระหว่าง ความหมายของชีวิต และอุดมการณ์ที่กำลังทำ กับคำถาม และความหมกหมุ่นกับความตาย ทั้งคนรอบข้าง และตัวเอง เป็นงานขึ้นหิ้งที่ อาจารย์วิชาปรัชญา หยิบมาให้ผม นั่งดูในห้องเกี่ยวกับ แนวคิดของความหลงหมุ่นกับความตาย กับคำถามที่ว่า “ทำไมเราจึงต้องเรียนรู้เรื่องของความตาย?”
ถ้าไม่ใช่ในช่วงปริญญาตรี เราจะพบว่า “ความตาย” มักเป็นส่วนหนึ่งในวรรณกรรม ที่ปลูกฝังให้มนุษย์ของเรารู้จักปล่อยวาง และเข้าใจวงจร เกิด แก่ เจ็บตายของชีวิต เริ่มต้นก็คงต้องสอนเด็กๆ ให้เรียนรู้ความตาย ผ่านนิทาน หรือนิยายที่สร้างโลกสวยให้แก่เด็ก แต่ก็มีปริศนาธรรมปรากฏขึ้นอย่าง “แมงมุมเพื่อนรัก” (Charlotte’s Web) ที่เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องความตาย ก่อนจะใส่เรื่องของศาสนาเข้าไปในหัวเมื่อโตขึ้น และเป็นการสอนว่า ความตายนั้นไม่ได้อยู่ไกลตัวเลยสึกนิด ถึงเราระมัดระวังตัวเราก็ตาย เพราะความชรา หากใช้ชีวิตโชกโชนเราก็ตาย เพราะประมาท
คำถามต่อมาก็คือคนทุกวันนี้ ทำไมถึงไม่ค่อยคำนึงถึงความตาย อาจจะเพราะว่าความตายที่เราจะเจอนั้นมักจะถูกแอบซ่อนปิดปังจนเราไม่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เราสัมผัสเพียงความตายในรูปของนามธรรม เราเห็นคนตายในทีวี ข่าว หรือหน้าแรกหนังสือพิมพ์ ทั้งหมดที่เป็นภาพความตายผ่านสื่อนั้น เป็นความตายที่ไกลตัวเรามาก และเราเองไม่มีทางสัมผัสได้มากกว่าคำว่ารู้สึก
ความตายในหนัง และในวีดีโอเกม ก็ไม่ต่างกับภาพลวง (หนังเรื่อง The Matrix) ที่ไม่มีทางเข้าถึงได้อย่างชัดเจนมากกว่าคิดว่า มันตายแล้วก็เริ่มใหม่ได้ เพียง Restart
ทุกคนไม่เคยเข้าใจ หรือรับมือกับมันจริงๆ จังๆ สักครั้ง เรารู้ว่าเราตายได้เพราะอะไร บุหรี่ เหล้า ขับรถ เสียบปลั๊ค ชาร์ตแบตแล้วโทร หรือแม้แต่เดินข้ามถนน ยังไม่นับในเรื่องของ โชคร้าย อย่างยืนนิ่งๆ แล้วรถมาพุ่งชน แต่เราก็ไม่เคยใส่ใจกับมัน เหมือนกับว่ามันเป็นเรื่องที่ยังไกลตัว ทั้งที่มันหายใจรดคอหอยของเรา
The Seventh Seal เปรียบเสมือนบทเรียนบทหนึ่งที่ บอกว่าผ่านฉากของการตั้งคำถาม ของอัศวินคนนี้ ผ่านสงครามครูเสด ผ่านภาพความตายของเพื่อนร่วมสมรภูมิ ร่วมรบ กลับมายังบ้านเกิดกลับต้องเผชิญกับ เชื้อกาฬโรค ที่ระบาทหนักในยุโรปขณะนั้น ทำให้เขาเริ่มสงสัยแล้วว่า จริงๆ แล้ว ความตายนั้นมันต้องการอะไร ต้องการจะทดสอบอะไร หรือเพียงแค่อยากเดิมพันอะไรบางอย่างกับคน จนกระทั่งภาพวาดมัจจุราช ภาพหนึ่งก็ได้กลายเป็นมัจจุราชตัวเป็นๆ เดินออกมาตอบคำถามชีวิตอัศวิน พร้อมทั้งชวนอัศวินเล่นเกมหมากรุก
ฉากเด่นของเรื่องคือการ ดวลหมากรุกของอัศวิน และมัจจุราช ที่จะเป็นการใช่สัญลักษณ์สื่อเป็นนัยว่า การเผชิญหน้ากับความตายใน ยุคของยุโรปที่ตายทั้งสงครา และโรคภัย ในขณะนั้นไม่ต่างอะไรกับการเล่นเกม กับมัจจุราช สำหรับมัจจุราชเองก็ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แล้วการตั้งคำถามของพระประสงค์ของพระเจ้า ในยุคล่มสลาย และการมีตัวตนของมัจจุราช กับคำถามของการมีชีวิตอยู่ของอัศวินคนนี้ก็ได้ถูกทดสอบ
ความตายกลายมันเป็นเรื่องน่ากลัว
ใช่ครับเพราะความตายมันเป็นเรื่องใกล้ตัว คนเรามักที่จะแกล้งทำเป็นลืมความตาย เราต้องแกล้งลืมมันออกไปในแต่ละวัน แม้ว่าลึกๆ แล้ว ทุกๆ คนรู้ดีว่าพวกเรานั้น กลัวความตายที่สุด คนเรากลัวตายทุกคนไม่เว้นแต่ผม เพียงแค่เหตุผลของความกลัวนั้นแตกต่างกันไป เชื่อผมเถอะว่าเราทุกคนไม่ต้องการนึกถึงความตาย มีไหมที่ใครตื่นนอนขึ้นมาก็คิดเลยว่า “วันนี้เราจะตายหรือเปล่า จะตายยังไง” ไม่มีทางครับ เราทุกคนก็เลยจงใจปัดมันไปจากสมองของเรา หรือว่าซ่อนมันไว้ไว้ในจิตใต้สำนึกว่ายังไม่ถึงเวลา
ทุกวันนี้เราทุกคนลืมไปว่าเราจะต้องตาย ใช้ชีวิตอยู่กับความสนุกสนาน เงินทอง ราคะ ความใคร่ อำนาจ และความเป็น “อมตะ” ทั้งหมดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่เราจะหลงลืมความตายได้ในทุกๆ วัน เบี่ยงเบนความสนใจของชีวิต ออกไปจากสิ่งที่หวาดกลัว
เอาเป็นว่า จากเหตุการณ์ ฆ่ากันตาย ของการเมืองในประเทศไทย เพียงเพราะความขัดแย้ง หลายๆ คนที่อยู่ในวงล้อมก็คงไม่ต่างกับ อัศวินที่กำลังรอ มัจจุราชเงื้อมมือมาเล่นหมากรุกด้วย เพียงแค่ว่า บางครั้ง ถ้าเริ่มรู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่จำเป็นต้องเล่นเกมกับมัจจุราชก็เป็นได้ครับ
คะแนน 8.3/10
โอ้!! มีลิ้งค์ดูมั้ยครับ
http://www.youtube.com/watch?v=mbgiWPJLSsM&feature=kp
ไม่มี Sub ครับต้องหามาลงเอง
http://www.youtube.com/watch?v=mbgiWPJLSsM&feature=kp
ไม่มี Sub ครับต้องหามาลงเอง
http://www.javohd.com/movies/the-seventh-seal/